ตัววิ่ง

10สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานและข้อมูลความรู้ต่างๆ

ตัววิ่ง

วิชาเทคโนโลยีและสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562


10 สัญญาณอันตราย โรคเบาหวาน
  1. อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
  2. ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  3. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  4. หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
  5. ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  6. ปวดขา ปวดเข่า
  7. ผิวหนังแห้ง และมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
  8. เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
  9. อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
  10. แผลหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือขึ้นสะเก็ด

    โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้อีก เช่น อ้วนเกินไป มีน้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย หรือเป็นคนที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็สุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานเช่นกัน


เริ่มทำความรู้จัก โรคเบาหวาน

   โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการ ขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลง เป็นเหตุให้น้ำระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท ส่วนใหญ่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ร่างกายจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนที่มีชื่อว่า เบต้าเซลล์ จะเป็นตัวสร้างอินซูลิน โดยที่อินซูลินจะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานความสำคัญของ อินซูลิน ต่อร่างกาย


   โดยปกติแล้ว การเกิดโรคเบาหวานนั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ สมอง , ตับ , ไต , หัวใจ เพื่อให้เซลล์นั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อความผิดปกติทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลคั่งในเลือดในจำนวนที่มาก ทำให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นลุกลามจนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด

   ทั้งนี้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดความผิดปกติของกระบวนการใดในร่างกาย แต่สาเหตุของการเกิดก็ยังไม่ถูกระบุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรา (Lifestyle) ประกอบกัน
โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?

   อาการหลักๆ ที่สื่อว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน อาจได้แก่
รู้สึกหิวบ่อย , กระหายน้ำ , ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย อีกทั้งก็ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบ อาทิเช่น 
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย
  • ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว
  • ตาแห้ง
  • มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า
  • ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
  • เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้า
  • สายตาพร่ามัวในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน


ความเชื่อ1: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวาน

ความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีผลให้การสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้ หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง

ความเชื่อ2: เบาหวานเป็นโรคของคนแก่

ความจริง: โรคเบาหวานสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก หรือคนอายุน้อย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบคนเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุน้อยลง

ความเชื่อ3: คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

ความจริง: อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวเย็น เหงื่อออก อาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ อาการแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อมีอาการหรือสงสัยว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และรีบแก้ไขทันที เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลให้เกิดภาวะช็อค หรือเสียชีวิตได้

ความเชื่อ4: เบาหวานเป็นโรคไม่น่ากลัว ใครๆก็เป็นกัน

ความจริง: เบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน นอกจากนี้เบาหวานเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและเป็นเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงเกิดอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าเกือบสองเท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวานร่วมด้วย นอกจากนี้ หากการควบคุมเบาหวานไม่ดี ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย

ความเชื่อ5: เป็นเบาหวานห้ามกินขนมหวาน หรืออาหารที่มีความหวาน

ความจริง: เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นผลให้เกิดเบาหวาน คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าควรงดอาหารที่มีความหวาน หรือมีน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรมากเกินไป

ความเชื่อ6: เป็นเบาหวานห้ามให้เลือด

ความจริง: เป็นเบาหวานสามารถให้เลือดได้ ถ้าการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ผู้รับบริจาคโลหิตอีกครั้ง

ความเชื่อ7: เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วน

ความจริง: ไม่ว่าคนอ้วนหรือคนผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้ เพราะเบาหวานเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารมีแคลอรี่สูง น้ำตาลสูง และไม่ออกกำลังกาย ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดเบาหวานได้แต่พบว่าคนอ้วนเป็นเบาหวานมากกว่า เนื่องจากพฤติกรรมการกิน และการวิจัยพบว่าในคนอ้วนส่วนใหญ่ระดับการผลิตอินซูลินปกติ หรือมากกว่าปกติ แต่เซลล์ในร่างกายมีผลดื้อต่ออินซูลิน

ความเชื่อ8: ในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉนั้นเราจะไม่เป็นเบาหวาน


ความจริง: ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ถึงแม้ว่าไม่มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน แต่เราก็สามารถเป็นได้หากใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสม

ความเชื่อ9: ถ้าเป็นเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน แสดงว่าอาการแย่แล้ว


ความจริง: การรักษาโรคเบาหวาน มีเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน กรณีที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยารับประทานแล้วยังไม่สามรถคุมระดับน้ำตาลได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย

ความเชื่อ10: เป็นเบาหวานต้องรักษาด้วยอินซูลิน

ความจริง: การรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกัน ควนคุมโรคได้ด้วย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสัดส่วน การออกกำลังกาย และรับประทานยาร่วมด้วยแต่หากยังไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ จึงมีการใช้อินซูลินร่วมด้วย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากสาเหตุของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องรักษาโดยการให้อินซูลินเป็นหลัก

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน


       อาการของโรคเบาหวาน




  1. โรคฟิวเจอร์ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติปกติบางรายอาจตรวจพบโรคติดต่อเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า
  2. แห้งน้ำมากปากแห้ง
  3. หิวโหยหิวมาก
  4. น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติสายตาพร่ามัวเห็นภาพไม่ชัด
  5. รู้สึกเหนื่อยง่ายอาการชาโดยเฉพาะมือและขา

การปรับพฤติกรรมเลี่ยงเบาหวาน

     หากไม่อยากเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ทุกคนสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเบาหวานได้โดย ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวต่อเนื่องจนมีเหงื่อซึม หัวใจเต้นแรง อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป สัปดาห์ละ 5 วัน ซึ่งการออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน หรือชะลอการเป็นเบาหวานออกไปได้

    ระมัดระวังการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะประเภทแป้งและน้ำตาลเพื่อไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง และสำหรับผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของโภชนากรเพื่อการรักษาที่ได้ผล

    สุดท้ายแนะนำผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
  1. การตรวจน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้า โดยงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจเลือด
  2. การตรวจเลือด ณ เวลาใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ต้องงดอาหาร
  3. การตรวจน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง เพราะพบภาวะโรคเบาหวานแต่เนิ่น ๆ จะสามารถทำการรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ทันท่วงที

ทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกัน



โรคแทรกซ้อนน่ากังวล
   สิ่งที่น่าวิตกและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานคือ โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยคือ

  • โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวานในจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออกในดวงตา ส่งผลให้ตาบอด ซึ่งหากมีการตรวจคัดกรองพบภาวะเบาหวาน จะช่วยป้องกันภาวะตาบอดได้
  • โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวานที่ไต พบโปรตีนปะปนออกมากับปัสสาวะ หากปล่อยไว้ไม่รักษา ไตจะทำงานได้น้อยลงและเกิดภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจปัสสาวะ
  • โรคเส้นประสาทชา คนไข้จะไม่มีความรู้สึก เมื่อเกิดการกระทบกระแทกทางร่างกายจึงไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้เกิดบาดแผลได้ง่าย และบาดแผลรักษาได้ยาก เนื่องจากการหมุนเวียนของโลหิตไม่ดี ในบางรายแม้ไม่มีบาดแผลก็พบอาการเลือดไม่ไหลเวียน จึงมีคนไข้ที่ต้องสูญเสียอวัยวะไปจำนวนมาก
  • นอกจากนี้ยังพบอาการอัมพาตและโรคหัวใจได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน ซึ่งคนไข้เบาหวานที่เป็นโรคหัวใจจะไม่มีอาการเจ็บเตือน ทำให้เกิดอาการหัวใจวายฉับพลัน รวมถึงมีความเสี่ยงจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

   ส่วนผู้ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวานคือ ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วนลงพุง (ผู้ชายรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงเกิน 80 เซนติเมตร) ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมเคลื่อนไหวน้อย ซึ่งพนักงานออฟฟิศก็ถือว่ามีภาวะเสี่ยงเช่นกัน รวมถึงผู้ป่วยที่ใช้ยาเสตียรอยด์ และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลักของเบาหวานคือพันธุกรรม ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องควรตรวจคัดกรองเบาหวาน

https://youtu.be/XpsNfIhaIj8